top of page

คุณสมบัติและการใช้งานไม้แต่ละชนิด

1) ไม้เนื้อแข็ง
เป็นไม้ที่สามารถรับแรงกระทำได้มาก

1.1) ไม้เต็ง
เนื้อสีน้ำตาลแก่แกมแดง เสี้ยนสับสน เนื้อหยาบ แต่สม่ำเสมอแข็งเหนียวแข็งแรง และทนทานมากแห้ง แล้วเลื่อยไสกบตกแต่งได้ยาก ใช้ทำหมอนรางรถไฟเครื่องมือกสิกรรมโครงสร้างอาคาร เช่น ตง คาน วงกบ ประตูหน้าต่าง โครงหลังคา เสา และใช้ทำเป็นเฟอร์นิเจอร์ไม้ซึ่งมีความแข็งแรงทนทานมาก และเหมาะจะเป็นเฟอร์นิเจอร์กลางแจ้ง

1.2) ไม้แดง
เนื้อไม้มีสีแดงเรื่อๆ หรือ สีน้ำตาลอมแดง เสี้ยนเป็นลูกคลื่นหรือสับสน เนื้อละเอียดพอประมาณ แข็ง เหนียวแข็งแรงและทนทาน เลื่อยใสกบแต่งได้เรียบร้อยขัดชักเงาได้ดี ไม้นี้นิยมในการก่อสร้างในส่วนที่ไม่ใช่โครงสร้าง เช่น พื้น วงกบประตูหน้าต่าง ทำเกวียน ทำเรือหนอนรางรถไฟ เครื่องเรือน เครื่องมือกสิกรรม ด้านเครื่องมือ คันชั่ง ไม้ชนิดนี้มักจะไม่มีปัญหาเรื่องปลวกและแมลง ไม้แดง เป็นไม้ที่มีความแข็งมาก ทำให้เวลาเกิดความชื้นหรือร้อน อาจขยายตัวแล้วดันจนกำแพงแตกได้ ต่างกับไม้สักหรือมะค่า ที่มีการยืด หด ตัวน้อยดว่า

1.3) ไม้มะค่า
มีเนื้อไม้สีน้ำตาลอ่อนถึงสีน้ำตาลแก่ มีเนื้อค่อนข้างหยาบแต่สม่ำเสมอเป็นมัน เลื่อม แข็งและทนทานมาก ทนมอดและปลวก เลื่อยใสกบตกแต่งได้ยาก เนื่องจากความแข็งแรงของไม้ทำให้ตอกตะปูยากเลยมักใช้ในการก่อสร้างต่าง ๆ ทำไม้หมอนรางรถไฟทำเครื่องเกวียน เครื่องไถนา


2) ไม้เนื้อแข็งปานกลาง

2.1) ไม้ยาง
มักถูกเข้าใจผิดเพราะชื่อคล้ายกัน แต่เป็นคนละชนิดกับต้นยางพารา ลักษณะเนื้อไม้สีแดงเรื่อหรือสีน้ำตาลหม่น เสี้ยนมักตรง เนื้อหยาบ แข็งปานกลาง สามารถใช้ในร่มทนทานดี นำไปเลื่อยไสกบตกแต่งได้ดี มักใช้ในงานก่อสร้างทั่วไป งานตกแต่ง และ ฝ้าเพดาน

2.2) ไม้กระบากหรือไม้กะบาก
เนื้อไม้มีสีตั้งแต่นวลเหลืองถึงน้ำตาลอ่อนแกม แดง เสี้ยนมักตรงเนื้อหยาบแต่สม่ำเสมอ แข็ง เหนียว เด้งพอประมาณ เลื่อยไสกบตกแต่งได้ไม่ยาก ไม้ชนิดนี้ใช้ทำแบบหล่อคอนกรีตได้ดีเพราะเมื่อโดนน้ำแล้วไม่บิดงอหรือโค้ง ทำเครื่องเรือน ทำกล่อง, เก้าอี้ และ เฟอร์นิเจอร์ต่างๆ

 คุณสมบัติและการใช้งานไม้แต่ละชนิด
bottom of page